เรียบเรียงโดย ... ทีมงานเว็บไซต์กองอุตุนิยมวิทยาการบิน

Meteorology and Aircraft Operation of the Atmosphere (อุตุนิยมวิทยาและปฎิบัติการทางเครื่องบิน)


     Aeronautical Meteorology, Branch Of Meteorology Which Is Concerned With The Study of Meteorology
in Relation to Aeronautics
เป็นอุตุนิยมวิทยาสาขาหนึ่งที่เกี่ยวกับการศึกษาความสำพันธ์ระหว่างอุตุนิยมวิทยากับการเดินอากาศ


กิจการด้านอากาศการบินของประเทศไทย


     การบินหรือศิลปะของการเดินอากาศกับอุตุนิยมวิทยามีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เพราะบุคคลที่ต้อการเดินทางในอากาศ
จะต้องสนใจการแปรปรวนของอากาศเป็นพิเศษมากกว่ามากกว่าผู้อื่ีื่น ความปลอดภัยความเชื่อถือและประสิทธิภาพของการ
คมนาคมทางอากาศจะมีขึ้นไม่ได้ถ้าปราศจากความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพของการบริการอุตุนิยมวิทยาในการบินเที่ยวหนึ่งๆ
นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สองยุติลง กิจการการบินได้เจริญรุดหน้าไปอย่้างรวดเร็ว จากการบินด้วยใบพัดเป็นการบินด้วย
เครื่องยนต์กับเครื่องไอพ่น ต่อมาเป็นยุคจรวด ดาวเทียมและสถานีอวกาศ สิ่งที่นอกเหนือไปจากวิวัฒนาการทางเทคนิคใน
การสร้างอากาศยานคือการศึกษาค้นคว้าในเรื่องลมฟ้าอากาศของบรรยากาศชั้นล่างและโครงสร้างของอากาศชั้นบนเพื่อ ประกอบการบินและเส้นทางในอากาศ กิจการด้านนี้จึงได้ทวีความสำคัญและมีความเจริญก้าวหน้า ระยะที่กิจการด้านอากาศการบิน ในไทยระยะแรกได้เริ่มต้นขึ้นในกองทัพอากาศในสมัยนั้นเรียกว่า กรมอากาศยานความประสงค์ที่ได้จัดให้มีเครื่องบินขึ้นก็เพื่อ ไว้ใช้ใน กิจกรรมทหารโดยเฉพาะใช้สนับสนุนและส่งเสริมกำลังทางด้านพื้นดินต่อมาเมื่อกิจการบินพาณิชย์เจริญแพร่หลาย รัฐบาลได้จัดตั้งบริษัทขนส่งทางอากาศขึ้น เพื่อให้การสัญจรแก่ประชาชนตลอดจนขนส่งสินค้าเป้นไปด้วยความสะดวกรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ เครื่องบินในระยะี้นี้เป็นเครื่องบินขนาดเล็กบรรทุกผู้โดยสารได้เพียง45คนเท่านั้นและทำการบินในระยะทางสั้นๆ ทางด้านบริการอุตุนิยมวิทยาจัดให้เฉพาะผลการตรวจอากาศ ที่สนามบินต้นทาง(ดอนเมือง)กับสนามบินปลายทาง ที่เครื่องบินจะไปลงเท่านั้น ส่วนสภาพลมฟ้าอากาศตามเส้นทางการบินนักบินมักจะไม่ค่อยคำนึงถึงมากนัก ด้วยเหตุนี้เอง นักบินถึงมักประสบกับลักษณะอากาศเลวที่เป็นอันตรายต่อการบิน ในระหว่างทางบ่อยๆเช่น พายุฝนฟ้าคะนอง หมอก ทำให้นักบินหลงทางหรือเป็นอันตรายถึงกับเครื่องบินตกได้ สงครามโลกครั้งที่สองได้มีเครื่องบินพาณิชย์ จากประเทศต่างๆ มาลงที่สนามบินดอนเมืองมากขึ้น กิจการบินและการขนส่ง ทางอากาศภาย ในประเทศได้ทวีความต้องการมากขึ้นเป็นอันดัับ บริษัทขนส่งทางอากาศได้เปลี่ยนเป็นบริษัทเิดินอากาศ ไทยเป็นสายการบินภายในประเทศ ที่ขยายออกไปตามภาคต่างๆ เพื่อให้ความต้องการเป็นไปอย่างสมบูรณ์ กรมอุตุนิยมวิทยาจึงได้ปรับปรุงการบริการด้านอุตุนิยมวิทยาการบิน ให้เป็นไป ในแนวเดียวกันที่จัดทำอยู่ในต่างประเทศ โดยยกฐานะสถานีตรวจอากาศดอนเมืองขึ้นเป็นสถานีพยากรณ์อากาศเพื่อจัดการ พยากรณ์อากาศให้กัับบริษัทิการบินต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศตลอดจนการบินของทหาร การจัดบริการทาง อุตุนิยมวิทยาการบินหรือข่าวสารลักษณะ ลมฟ้าอากาศนี้ ได้ปฎิบัติตามกฎข้อบังคับขององค์การการบินระหว่างประเทศ


กิจการด้านอากาศการบินในปัจจุบันของกองอุตุนิยมวิทยาการบิน

     กิจการด้านอากาศการบินในปัจจุบันพอจะกล่าวได้ว่าเริ่มขึ้นในปี พ.ศ2490 มีบริษัทการบินระหว่างประเทศ เข้ามาดำเนิน กิจการอยู่ในประเทศไทยหลายบริษัท การจัดบริการอุตุนิยมวิทยาเพื่ออำนวยความสะดวกและความปลอดภัย ให้กับการบิน กองอุตุนิยมวิทยาขนส่งได้ปฎิบัติให้เป็นไปตามกฎข้อบังคับขององค์การ ICAO คือ

1. จัดให้มีการตรวจลักษณะอากาศที่สนามบินตามระบบสากล METAR/SYNOP และตรวจพิเศษ
2. จัดให้มีการเขียนแผนที่อากาศขึ้นที่ท่าอากาศยานกรุงเทพฯ
3. ทำการพยากรณ์อากาศตามเส้นทางที่เครื่องบินจะเดินทางไป ตลอดจนให้คำแนะนำกับนักบินเกี่ยวกับระบบอากาศที่เกิดขึ้น
     ในบริเวณที่แผนที่อากาศคลุมถึง
4. ลักษณะอากาศที่คาดคะเนว่าจะเกิดขึ้นในเส้นทางบิน หากคาดว่ามีลักษณะอากาศที่ไม่ปลอดภัยเกิดขึ้นในเส้นทางบิน
     หรือสนามบินปลายทางก็จะแจ้งให้ทราบล่วงหน้าก่อน เพื่อหลีกเลี่ยงหรืองดเว้นการเดินทางชั่วคราว
5. ทำการพยากรณ์อากาศบริเวณเส้นทางคมนาคมตามถนนสายหลักทั่วประเทศ คลิกดูได้ที่ http://www.aeromet.tmd.go.th/
6. ทำการพยากรณ์อากาศตามเส้นทางเดินเรือน่านน้ำบริเวณอ่าวไทย ทะเลอันดามัน คลิกดูได้ที่      http://www.aeromet.tmd.go.th/
7. พยากรณ์อุณหภูมิอากาศต่างประเทศที่มีเครื่องบินขึ้น ลง
8. พยากรณ์อากาศภายในประเทศ
9. ติดตามลักษณะอากาศด้วยเรดาร์ตรวจอากาศ เน้นเพื่อการบินและขนส่ง
10. FAMILIARIZATION FLIGHT เจ้าหน้าที่หรือนักอุตนิยมวิทยาุมักจะติดตามไปกับเครื่องบินพาณิชย์เพื่อสำรวจสภาพอากาศ      ของสายการบิน


หน้าที่ของเจ้าหน้าที่บริษัทการบินต่อหน่วยงานอุตุนิยมวิทยา


1. ต้องแจ้งให้ทราบเวลาเข้าออกของเครื่องบินต่อหน่วยงานอุตุนิยมวิทยาเพื่อจะได้จัดเอกสารของสายการบินได้ถูกต้อง
2. ถ้ามีการบินเป็นประจำจะต้องแจ้งตารางการบินแต่ละชนิดของเครื่องบิน
3. ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงไปจากตารางการบินปกติจะต้องแจ้งให้หน่วยงานอุตุนิยมวิทยาการบินทราบ
4. ถ้ามีการขอข่าวพยากรณ์อากาศตามเส้นทางบินภายในประเทศจะต้องแจ้งล่วงหน้าไม่ต่ำกว่า 3 ชั่วโมงก่อนจะทำการบิน
5. ภาพถ่ายดาวเทียมหรือคำเืตืือนลักษณะอากาศร้าย เส้นทางเดินพายุ หากต้องการพิเศษให้คลิกที่      http://www.aeromet.tmd.go.th/
6. พนักงานของบริษัทต้องเตรียมเอกสารที่่จะเรียกข่าวให้พร้อม คือ ชื่อไฟลท์ที่ทำการบิน เวลาที่เครื่องบินขึ้น รหัส4      ตัวของเมืองที่จะไป
7. ตรวจสอบข่าว METAR/TAFOR/SIGMETบริเวณสนามบินต้นทางและสนามบินปลายทางรวมทั้งสนามบินสำรองก่อนทำการบิน
8. หากเครื่องบินไม่มีข่าวอากาศเป็นหนังสือคู่มือ(FLIGHT FOLDER)ด้วยแล้ว เครื่องบินนั้นก็ไม่สามารถนำเครื่องบินขึ้นบินได้
     ตามกฎICAO และหากเครื่องประสบอุบัติเหตุจากลักษณะอากาศ บริษัทประกันภัยก็ไม่สามารถจ่ายเงินค่าเสียหายให้ได้


นักบินจะต้องทราบ


1. ทิศทางและความเร็วลมเพื่อประหยัดเวลาและน้ำมันเชื้อเพลิง
2. อุณหภููมิของอากาศเพื่อใช้ทางวิ่งสั้น ยาว สำรองน้ำมันและบรรทุกของเพื่อเพิ่มหรือลดการโหลดสัมภาระตามอุณหภูมิ
3. ความกดอากาศในระดับสูงต่างๆ เพื่อวางแผนเส้นทางบินและระดับที่จะทำการบิน นอกจากนี้ยังต้องทราบถึงทัศนวิสัย
    (คือการมองเห็นได้ชัดเจน) ลักษณะอากาศที่สำคัญตามเส้นทางบิน และต้องทราบความกดอากาศระหว่างที่เครื่องบินแตะพื้นเพื่อ
ไม่ให้เครื่องบินกระแทกพื้นหรือยังไม่ถึงพื้น ทำให้เครื่องบินตกกระแทกรันเวย์
4. ลักษณะอากาศบริเวณสนามบินต้นทางและสนามบินปลายทางและสนามบินสำรอง เพื่อประโยชน์ในอันที่จะเกิดความปลอดภัย
ส่วนบุคคล ความสะดวกสบาย ความรวดเร็วแก่ผู้โดยสารให้มากที่สุด ความต้องการลักษณะลมฟ้าอากาศดังกล่าวนี้มีอยู่ตลอดเวลา
ตั้งแต่เริ่มออกเดินทางจนสิ้นสุดการบินในเที่ยวบินนั้นๆ นักบินของแต่ละเที่ยวบินจำเป็นต้องทราบสภาวะอากาศของบรรดาองค์
ประกอบอุตุนิยมวิทยา Weather Elements หรือบรรยากาศที่กำลังปรากฎหรือคาดหมายว่าจะปรากฎตามเส้นทาง ของเที่ยวบินนั้นเสียก่อน จากนั้นนำมาพิจารณาแก้ไขตามเกณฑ์เทคนิกปฎิบัติการบิน เสร็จแล้วจึงบรรจุรายละเอียดวิธีปฎิบัติการ บินที่คาดว่าปลอดภัยราบรื่น ดีลงในแผนที่การบิน เที่ยวบินใดไม่ปลอดภัยรัดกุมดีพอจะไม่ได้รับอนุญาตให้นำเครื่องบินขึ้น จากสนามบินต้นทาง และเครื่องบินที่ อยู่ในอากาศหากพบอุปสรรคเฉพาะหน้าเนื่องจากลมฟ้าอากาศ ให้อาศัยสมรรถนะ ของเครื่องบิน และจำนวนเชื้อเพลิงที่มีอยู่ ในระหว่างประกอบการพิจารณากำหนดพึงระลึกเสมอว่า แม้ความเร็วของเครื่องบิน มากขึ้นเพียงใด นักบินมีประสพการณ์มากขึ้นเพียงใด อุปกรณ์ช่วยการเดินอากาศ มีประสิทธิภาพสูงเพียงใด บรรดาลมฟ้าอากาศ ก็ยังคงมีอยู่ และเกิดแปรปรวนได้โดยไม่เลือกเวลาและตำบลที่เกิด ดังนั้นการบริการอุตุนิยมวิทยาการบินยังคงเป็นสิ่งจำเป็น และอยู่ใน ความต้องการของฝ่ายปฎิบัติการเดินอากาศระหว่างประเทศ เป็นเทคนิกส่วนหนึ่งที่ช่วยให้การเดินอากาศดำเนินไป
ด้วยความปลอดภัย ตรงต่อเวลา และเต็มไปด้วยความมีประสิทธิภาพ


กองอุตุนิยมวิทยาการบิน ©2015 กรมอุตุนิยมวิทยา
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โทร.02-134-0011 ต่อ 210 หรือ 211 Fax.02-134-0009-10