เรียบเรียงโดย ... ทีมงานเว็บไซต์กองอุตุนิยมวิทยาการบิน

โครงการอุตุนิยมวิทยาการบินสำหรับท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่2 (ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ)



ความเป็นมา...

     เป็นโีครงการหนึ่งของการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยอยู่ในกลุ่มงานที่เรียกว่า “AERONAUTICAL FACILITIES” เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการเดินอากาศ ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิให้เป็นไปตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ และองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก โดยดำเนินการติดตั้งเครื่องมือตรวจอากาศและระบบให้บริการข้อมูลอุตุนิยมวิทยาการบิน เพื่อประโยชน์ในการตรวจและรายงานอากาศการบิน การพยากรณ์อากาศการบิน การติดตามสภาวะอากาศให้มีความถูกต้อง รวดเร็ว และทันต่อเหตุการใช้งาน ซึ่งจะทำให้การวางแผนการบินแต่ละเที่ยวบินมีประสิทธิภาีพและปลอดภับเพิ่มขึ้นอันจะเป็นประโยชน์ ต่อการขนส่งทางอากาศ และสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการบินในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


วัตถุประสงค์

     เพื่อติดตั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ตรวจข้อมูลอุตุนิยมวิทยา และการพยากรณ์ลักษณะอากาศที่จำเป็นต่อการเดินอากาศ ณ ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งที่ 2 (่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ) ให้เป็นไปตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ


การดำเนินการ

     โครงการนี้มีระยะเวลาในการดำเนินการ 4 ปี (พ.ศ. 2545-2549) โดยมีกองอุตุนิยมวิทยาขนส่ง กรมอุตุนิยมวิทยา เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ ใช้งบประมาณ 1,236,430 ล้านบาท ได้ดำเนินการติดตั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ด้านอุตุนิยมวิทยาการบิน
ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารอุตุนิยมวิทยาการบินเข้ากับหน่วยงานภายนอก


อุตุนิยมวิทยาการบิน ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

     ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นท่าอากาศยานที่มีความพร้อมด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย และสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย โดยมีส่วนประกอบหนึ่งที่สำคัญคือ
กรมอุตุนิยมวิทยา ซึ่งเป็นหน่วยงานราชการ สังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
     
      เีื่พื่อรองรับการให้บริการด้านอุตุนิยมวิทยาสำหรับกิจการบิน ก่อให้เกิดความปลอดภัยและเป็นไปตามมาตรฐาน ขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization : ICAO) โดยได้นำเทคโนโลยี เครื่องมืออุปกรณ์การตรวจอากาศและพยากรณ์อากาศสมัยใหม่ มาใช้้ในการบริหารจัดการการบริการข้อมูลข่าวสาร อุตุนิยมวิทยาการบินให้กับ อากาศยาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยได้ดำเนินการก่อสร้างอาคาร ที่ทำการอุตุนิยมวิทยา และอาคารหอเรดาร์ตรวจอากาศเพื่อติดตั้งเครื่องมืออุปกรณ์อุตุนิยมวิทยาการ บิน และเชื่อมโยงระบบข้อมูลข่าวสารอุตุนิยมวิทยาการบินกับหน่วยงานภายนอก ให้บริการต่อหอบังคับการบิน สายการบิน และผู้โดยสารให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด สนับสนุนกิจกรรมการเดินอากาศที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก




Bureau of Meteorology for Transportation
กองอุตุนิยมวิทยาขนส่ง มีสถานที่ปฏิบัติงานที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ รวม 3 แห่ง ดังนี้


1. ห้องปฏิบัติการอุตุนิยมวิทยาหลัก (Main Meteorological Operation Office : MMO)
เป็นศูนย์กลางในการรวบรวม และบันทึกข้อมูลอุตุนิยมวิทยา วิเคราะห์และพยากรณ์ เฝ้าติดตามสภาวะอากาศ และออกคำเตือนตลอดจนประมวลผลทางด้านอุตุนิยมวิทยาการบิน ทั้งในรูปแบบแผนที่อากาศ และรูปแบบเอกสารต่างๆ เพื่อให้บริการข้อมูลข่าวสารอุตุนิยมวิทยาการบินแก่หน่วยงานภายในและภายนอกต่างๆ พื้นที่ทำการตั้งอยู่ในอาคารที่ทำการหอบังคับการบินชั้น 6 บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด

2. สถานีปฎิบัติงานตรวจอากาศ (Aeronautical Meteorological Station) เป็นสถานที่ที่ใช้ในการตรวจและรายงานอากาศการบิน ทั้งการตรวจประจำ และตรวจเมื่อมีลักษณะอากาศร้าย เป็นการตรวจโดยใช้ระบบเครื่องมือตรวจอากาศอัตโนมัติ (Automatic Weather Observation System : AWOS) และระบบการตรวจอากาศด้วยสายตาซึ่งเป็นเครื่องมือตรวจอากาศผิวพื้น (Conventional Meteorological Instruments) ตลอดจนการติดตามเฝ้ามองลักษณะอากาศร้าย เช่น เรดาร์ตรวจอากาศ (Doppler Weather Radar) เป็นต้น สถานีปฏิบัติงานตรวจอากาศนี้ตั้งอยู่ในพื้่นที่ด้านตะวันออกเฉียงใต้ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยเชื่อมโยงข้อมูลกับห้องปฏิบัติการหลัก (MMO)
- สถานีสนามอุตุนิยมวิทยาบริเวณทางวิ่ง ( Meteorological Field Station Runway) เป็นสถานที่ที่ใช้ในการติดตั้งเครื่องมือตรวจอากาศการบินอัตโนมัติ และระบบ Low Level Wind Shear Alert System : LLWAS และระบบหาพิกัดฟ้าแลป (Lightning Detection System : LDS) เพื่อตรวจวัดสารประกอบอุตุนิยมวิทยาที่มีความสำคัญต่อการบิน และตรวจหาพิกัดตำแหน่งของพายุฟ้าคะนองซึ่งอยู่ในบริเวณทางวิ่ง และบริเวณรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ



3. ห้องบรรยายสรุปลักษณะอากาศ (Meteorological Briefing Office) สถานที่ทำการอยู่บริเวณชั้น 2 ของอาคารเทียบเครื่องบิน (Concourse A)ใช้บรรยายสรุปลักษณะอากาศ
เกี่ยวข้องกับการบินของแต่ละเที่ยวบินแก่นักบิน ตลอดจนเจ้าหน้าที่เกี่ยวช้อง และเป็นจุดรับเอกสารประกอบการบินของสายการบินต่างๆ พร้อมทั้งให้บริการประชาชนที่มาใช้บริการ รวมทั้งชาวต่างชาติที่มาท่องเที่ยวและทำกิจกรรมต่างๆ



กองอุตุนิยมวิทยาการบิน ©2015 กรมอุตุนิยมวิทยา
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โทร.02-134-0011 ต่อ 210 หรือ 211 Fax.02-134-0009-10