เรียบเรียงโดย ... ทีมงานเว็บไซต์กองอุตุนิยมวิทยาการบิน

วินเชียร์(WIND SHEAR) คืออะไร มีอันตรายต่อเครื่องบินอย่างไร

     วินเชียร์ คือการเปลี่ยนแปลงความเร็วและหรือทิศทางของลมในระยะสั้นๆ(ฉับพลัน) สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งแนวนอนและแนวตั้ง
หรือเกิดพร้อมๆกันทั้งสองแนวบางครั้งเกิดร่วมกับปรากฎการณ์อุณหภูมิผกผันในระดับต่ำ โดยมีอยู่ 2 ลักษณะด้วยกัน ได้แก่

1.กระแสความเร็วลมแตกต่างกัน ระหว่างจุดหนึ่งมายังอีกจุดหนึ่ง ณ บริเวณดังกล่าวมีความเร็วลมต่างกัน อาทิ บริเวณด้านหัวรันเวย์
ของสนามบินมีกระแสลมแรงที่ระดับ 50กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ด้านท้ายสนามบินอยู่ที่ 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
มีผลต่อการควบคุมการบิน หากเครื่องยนต์ของเครื่องบินไม่มีกำลังแรงพอ กระแสลมทำให้เครื่องบินเสียการทรงตัวได้

2.ทิศทางของลมที่มีความแตกต่างกัน อาจจะเป็นทิศทางในแนวดิ่ง กระแสลมพัดขึ้นและลงในความเร็วที่แตกต่างกัน
หรือกระแสลมที่พัดในแนวราบ ที่มีความเร็วแตกต่างกัน จะมีผลต่อการควบคุมการบินเช่นกัน

     วินเชียร์เกิดขึ้นได้ทุกระดับความสูงโดยทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของลมเป็นวงกลม(Eddies) ทำให้เกิดความปั่นป่วนอย่างรุนแรง
ตามความรุนแรงของวินเชียร์ วินเชียร์ที่กระทบกระเทือน และเป็นอันตรายมากต่อการบินได้แก่วินเชียร์ที่เกิดขึ้นในระดับต่ำๆ
ซึ่งสูงจากทางวิ่งของสนามบินไม่เกิน500เมตรเป็นวินเชียร์ที่เกิดขึ้นในระดับต่ำๆ ใกล้กับทางวิ่งของสนามบิน วินเชียร์เกิดจากการ
เคลื่อนที่ของอากาศในบรรยากาศชั้นหนึ่งเคลื่อนผ่านบรรยากาศชั้นหนึ่งที่อยู่ติดๆกันซึ่งมีตั้งแต่ขนาด เล็กๆที่เกิดจากลม กระโชกแรงๆ จนถึงการไหลของมวลอากาศขนาดใหญ่ โดยเกิดจากปรากฎการณ์ทางธรรมชาติเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่ง
หรือมากกว่าเกิดร่วมกันเช่นพายุฟ้าคะนอง แนวปะทะอากาศ ลมทะเลฯลฯ ซึ่งวินเชียร์ที่เป็นอันตรายต่อการบิน บ้านเราจะเกิดจากพายุุ ฟ้าคะนองเท่านั้น การตรวจวินเชียร์เป็นการเตือนภัยไม่ให้เครื่องบินเข้าไปในบริเวณที่เป็นวินเชียร์ ซึ่งจะถูกโยนตัวขึ้น-ลง จนนักบินไม่สามารถ ควบคุมเครื่องได้ ถ้ารุนแรงมากชิ้นส่วนของเครื่องบินอาจฉีกขาด ทำให้เครื่องตกได้


กองอุตุนิยมวิทยาการบิน ©2015 กรมอุตุนิยมวิทยา
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โทร.02-134-0011 ต่อ 210 หรือ 211 Fax.02-134-0009-10