แผนยุทธศาสตร์กองอุตุนิยมวิทยาการบิน

พ.ศ. 2558 - 2561


วิสัยทัศน์:       เป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูงด้านอุตุนิยมวิทยาการบินในภูมิภาคเอเชีย

 

พันธกิจ:        1.พัฒนาระบบงานการตรวจ เฝ้าระวัง พยากรณ์อากาศ ติดตามสภาวะอากาศ และออกคำเตือนลักษณะอากาศร้ายด้านการบินให้มีประสิทธิภาพ ทันต่อเหตุการณ์

2. สร้างความตระหนักให้กับผู้ปฏิบัติงานด้านการบินสามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง เพื่อลดผลกระทบที่เกิดจากลักษณะอากาศร้าย

3. เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการด้านอุตุนิยมวิทยาการบินตามมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพISO 9001 : 2008

4. พัฒนางานวิจัยและวิชาการด้านอุตุนิยมวิทยาการบิน รวมทั้งเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

5. พัฒนาสมรรถนะบุคลากรด้านอุตุนิยมวิทยาการบินให้ได้มาตรฐานสากล และเตรียมการเพื่อให้ได้รับการรับรองการประกอบวิชาชีพอุตุนิยมวิทยาการบินในอนาคต

 

วัตถุประสงค์ :

 

1.       เพื่อลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติในการเดินอากาศ

2.       เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นเกี่ยวกับความปลอดภัยในการขนส่งทางอากาศให้แก่ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

3.   เพื่อสร้างภาคีความร่วมมือด้านอุตุนิยมวิทยาการบินทั้งภายในประเทศและต่างประเทศให้การยอมรับในคุณภาพและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านอุตุนิยมวิทยาการบินของประเทศไทย

 

เป้าหมาย

ระยะสั้น (ปีแรก)

1. การเดินอากาศมีความปลอดภัยจากภัยธรรมชาติ

2. ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความพึงพอใจในบริการด้านอุตุนิยมวิทยาการบินของประเทศ

 

ระยะยาว (จนถึงปี 2561)

 

1.       การเดินอากาศมีความปลอดภัยจากภัยธรรมชาติ

2.       ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความพึงพอใจในบริการด้านอุตุนิยมวิทยาการบินของประเทศ

3.   ขยายเครือข่ายความร่วมมือด้านอุตุนิยมวิทยาการบินระหว่างประเทศ/ระหว่างหน่วยงานภายในประเทศให้มากขึ้น

ชื่อตัวชี้วัด

หน่วยนับ

2558

2559

2560

2561

1.    จำนวนครั้งของเครื่องบินที่ประสบอุบัติเหตุจากภัยธรรมชาติขณะเดินอากาศ

ครั้ง

0

0

0

0

2.   ร้อยละของระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการ

ร้อยละ

80

81

83

85

3.   ระดับความสำเร็จของการบรรลุข้อตกลงระหว่างประเทศ/ ระหว่างหน่วยงาน

ระดับ

5

5

5

5

 

การวิเคราะห์ SWOT

 

จุดแข็ง (S)

จุดอ่อน (W)

1.       เป็นหน่วยงานหลักด้านอุตุนิยมวิทยาการบิน ของกรมอุตุนิยมวิทยา มีอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบทางด้านอุตุนิยมวิทยาการบินตามกฎกระทรวง

2.    มีเครือข่ายการตรวจวัดสารประกอบอุตุนิยมวิทยาการบิน ตามข้อกำหนดของ ICAO ทำให้มีข้อมูลสนับสนุนการพยากรณ์อากาศ และการเตือนภัยด้านอุตุนิยมวิทยาการบิน

3.    เป็นศูนย์รวมของบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านอุตุนิยมวิทยาการบิน

4.       เป็นแหล่งองค์ความรู้ด้านอุตุนิยมวิทยาการบิน ทำให้ผู้รับบริการมีความเชื่อมั่น

5.       การบริการอุตุนิยมวิทยาการบินที่ได้มาตรฐาน ICAO สามารถส่งเสริม สนับสนุนต่อความปลอดภัย และเศรษฐกิจด้านการเดินอากาศ

6.    เป็นหน่วยงานเดียวที่มีเครื่องมือตรวจวัดอุตุนิยมวิทยาด้านการบินที่มีประสิทธิภาพ และทันสมัย

7.    มีการพัฒนาในด้านอุตุนิยมวิทยาการบินอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการยอมรับในระดับสากล

8.       ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ISO9001 ทำให้การบริหารงานมีคุณภาพ

1.    มีอัตรากำลังของผู้ปฏิบัติงานด้านอุตุนิยมวิทยาการบินไม่เพียงพอ

2.    มีบุคลากรที่มีทักษะและความชำนาญในการปฏิบัติงานไม่เพียงพอ

3.    ขาดความตระหนักในการร่วมมือด้านการจัดการความรู้

4.       ขาดช่างเทคนิคในการดูแล บำรุงรักษาเครื่องมือ

5.       ไม่มีความก้าวหน้าในสายงานและขาดแรงจูงใจ

6.    ขาดความต่อเนื่องของข้อมูลตรวจอากาศของสนามบินต่างจังหวัด

7.       SOP ยังไม่ครบทุกกระบวนการ

8.       ขาดงานวิจัยทางด้านอุตุนิยมวิทยาการบิน

9.    ขาดการปรับปรุงและพัฒนาระบบพยากรณ์ที่ใช้ให้มีความทันสมัย ทำให้ไม่สามารถตอบสนองต่อผู้ปฏิบัติงาน และผู้รับบริการ

10.  ขาดการบำรุงรักษาระบบและเครื่องมืออย่างต่อเนื่องทำให้เครื่องมือขัดข้องบ่อย

11.  ขาดการพัฒนาเว็บเซิฟเวอร์สำหรับการให้บริการอุตุนิยมวิทยาการบินผ่านทางเว็บไซต์

12.  การใช้งานอุปกรณ์เครื่องมือด้านอุตุนิยมวิทยาการบินยังไม่เต็มประสิทธิ์ภาพ

13.    ขาดการบูรณาการข้อมูลอุตุนิยมวิทยาการบิน

14.  การขอใช้พื้นที่จากหน่วยงานภายนอกเพื่อติดตั้งเครื่องมือ อุปกรณ์ตรวจวัดมีความล่าช้า

15.    การขาดการบริหารโครงการที่ดีอย่างเป็นระบบ

16.    งบประมาณไม่เพียงพอ

17.  สถาบันการศึกษาภายในประเทศไม่มีหลักสูตรเฉพาะทางด้านอุตุนิยมวิทยาการบินทำให้เป็นอุปสรรคด้านการผลิตและพัฒนาบุคลากร

โอกาส (O)

ภัยคุกคาม (T)

1.       จากกรณีที่ ICAO เข้ามา audit หน่วยงานการบินในประเทศไทยทำให้รัฐบาลเห็นความสำคัญในการพัฒนาองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการบินตามมาตรฐานที่กำหนด

2.    อุตสาหกรรมการบินที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วทำให้ต้องพัฒนาตนเองและเทคโนโลยี

3.       แผนการเดินอากาศสากล (Global Air naviation Plan) ของ ICAO ทำให้กองอุตุนิยมวิทยาการบินพัฒนาการปฏิบัติงานเข้าสู่มาตรฐานสากล

4.       การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ทำให้มีโอกาสในการขยายเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

5.    ความต้องการขยายขอบเขตระบบบริหารคุณภาพISO9001 ไปสู่ภูมิภาคทำให้ข้อมูลและบุคลากรด้านอุตุนิยมวิทยาการบินมีมาตรฐานเดียวกัน

6.    การประเมินสมรรถนะบุคลากรด้านอุตุนิยมวิทยาการบินทำให้เกิดการยอมรับในคุณภาพของบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านการบิน

7.    การเปลี่ยนแปลงกระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร (ICT) เป็น กระทรวงดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม (DE) ทำให้เกิดการปรับบทบาทภารกิจและโครงสร้างของกองฯ

8.    การพัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศทางด้านอุตุนิยมวิทยาเข้าสู่ระบบ Open Data ทำให้ผู้ปฏิบัติงานด้านอุตุนิยมวิทยาการบินสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

9.       การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและกฎระเบียบ ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบิน ทำให้เกิดโอกาสในการพัฒนาภารกิจด้านอุตุนิยมวิทยาการบินให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

10.  ความถี่และความรุนแรงของการเกิดภัยธรรมชาติที่มากขึ้น ทำให้เกิดการเพิ่มความร่วมมือด้านงานวิจัยและพัฒนาความรู้และเกิดการแลกเปลี่ยนความรู้กับหน่วยงานอื่นๆ

1.     การเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดด้านอุตุนิยมวิทยาการบิน ของ ICAO ทำให้มีผลกระทบต่อการปฏิบัติงานด้านอุตุนิยมวิทยาการบิน

2.   นโยบายการควบคุมอัตรากำลังภาครัฐและงบประมาณที่ได้รับไม่เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถขยายภารกิจตามความต้องการของผู้รับบริการ

3.     ภัยธรรมชาติมีผลกะทบต่อการทำงานทำให้เครื่องมือ และระบบสื่อสารขัดข้อง

4.   เทคโนโลยีด้านอุตุนิยมวิทยาการบินมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

5.   การปิดสนามบินเนื่องจากมีเหตุการณ์ไม่ปกติทำให้สามารถเข้ามาปฏิบัติงานได้

6.     เครื่องมือด้านอุตุนิยมวิทยาเป็นเครื่องมือเฉพาะทาง มีราคาสูง และมีผู้ค้าน้อยรายทำให้เกิดการผูกขาดทางการค้า

7.   หน่วยงานภายนอกไม่ให้ความสำคัญทำให้ไม่มีส่วนร่วมในระดับคณะกรรมการในการวางแผนงานการพัฒนาท่าอากาศยานในประเทศ จึงไม่สามารถเตรียมการรอรับงานด้านอุตุนิยมวิทยาในสนามบินที่เปิดใหม่ได้ทันท่วงที

 

 

 

 

 

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1  การพัฒนาระบบเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศอุตุนิยมวิทยาการบิน เพื่อเป็นศูนย์รวบรวมข้อมูลของประเทศ (National OPMET Center: NOC)

เป้าประสงค์ 

1.       เป็นคลังข้อมูลกลางด้านอุตุนิยมวิทยาการบิน

2.       มีระบบบริหารจัดการฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ 

3.       ข้อมูลสารสนเทศอุตุนิยมวิทยาการบินมีคุณภาพ

4.       มีการนำข้อมูลจาก NOC ไปใช้ประโยชน์

 

ชื่อตัวชี้วัด

หน่วยนับ

2558

2559

2560

2561

1.  ระดับความสำเร็จของการจัดการข้อมูลสารสนเทศ

ระดับ

-

5

5

5

2.  ระดับความสำเร็จของระบบบริหารจัดการข้อมูล

ระดับ

-

5

5

5

3.  ร้อยละความผิดพลาดของข้อมูลข่าวอากาศการบิน

ร้อยละ

10

9

8

7

4.1 จำนวนสมาชิกที่รับข้อมูลของ NOC

จำนวน

-

-

-

100

4.2 จำนวนผลงานทางวิชาการที่ใช้ข้อมูลจาก NOC ต่อปี

เรื่อง

-

-

-

1

     กลยุทธ์

1.    พัฒนาระบบฐานข้อมูล

2.1  เพิ่มประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการสารสนเทศฯ

2.2. เสริมสร้างนวัตกรรมใหม่

3.1  เพิ่มคุณภาพข้อมูลสารสนเทศ

3.2  ส่งเสริมการจัดการความรู้ด้านข่าวอากาศการบิน

4.1  ส่งเสริมการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์

4.2  สนับสนุนการสร้างผลงานทางวิชาการ

แผนงาน/ โครงการ

1.    แผนพัฒนาระบบฐานข้อมูล

       -รวบรวมข้อมูลสารสนเทศอุตุนิยมวิทยาการบิน

       -รวบรวมองค์ความรู้ด้านอุตุนิยมวิทยาการบิน

   -การออกแบบระบบบริหารจัดการและการทำไปใช้งาน

2.1  โครงการจัดหาระบบและเครื่งมือเพื่อจัดตั้ง NOC

2.2  โครงการจัดหา Application อุตุนิยมวิทยาการบิน

 

 

3.1  แผนพัฒนาคุณภาพข้อมูลสารสนเทศอุตุนิยมวิทยาการบิน

3.2  แผนจัดการความรู้ด้านข่าวอากาศการบิน

4.1  แผนการประชาสัมพันธ์ NOC

4.2  แผนพัฒนาผลงานทางวิชาการด้านอุตุนิยมวิทยาการบิน    

 

 

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2   พัฒนาระบบการตรวจ  การพยากรณ์  การออกคำเตือน และการให้บริการด้านอุตุนิยมวิทยาการบินตามมาตรฐานสากลโดยใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่

เป้าประสงค์

1.       ลดความเสี่ยงและอัตราการสูญเสียของกิจกรรมด้านการบินที่เกิดจากสภาวะอากาศร้าย

2.       ผู้รับบริการมีความพึงพอใจ

3.       ปฏิบัติงานตามมาตรฐานสากลโดยใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่

4.       พัฒนาระบบเทคโนโลยีในการปฏิบัติงานด้านอุตุนิยมวิทยาการบิน

 

ชื่อตัวชี้วัด

หน่วยนับ

2558

2559

2560

2561

1.1   ร้อยละความครบถ้วน และถูกต้อง ของการเข้ารหัสข่าว METAR และ SPECI ของสนามบินสุวรรณภูมิและดอนเมือง

ร้อยละ

97

98

98

98

1.2   ร้อยละของข่าว METAR ของสนามบินสุวรรณภูมิและดอนเมืองที่รายงานทันเวลา ภายในเวลา ไม่เกิน 5 นาที

ร้อยละ

95

96

97

98

1.3  ร้อยละความถูกต้องของข่าวพยากรณ์อากาศ (TAF) บริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ

ร้อยละ

82.5

82.5

82.5

82.5

1.4  ร้อยละความถูกต้องของข่าวพยากรณ์อากาศ (TAF) บริเวณสนามบิน       ดอนเมือง

ร้อยละ

82.5

82.5

82.5

82.5

1.5  ร้อยละของการออกคำเตือนลักษณะอากาศร้ายบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ (AD WARNING) สำหรับพายุฟ้าคะนองถูกต้อง ทันเวลา

 

ร้อยละ

-

-

83

84

1.6  ร้อยละของการออกคำเตือนลักษณะอากาศร้ายบริเวณสนามบินดอนเมือง (AD WARNING) สำหรับพายุฟ้าคะนองถูกต้อง ทันเวลา

 

ร้อยละ

-

-

83

84

ชื่อตัวชี้วัด

หน่วยนับ

2558

2559

2560

2561

1.7   ร้อยละของการแจ้งเตือนการเกิดฝนฟ้าคะนองบริเวณท่าอากาศยานสุวรรณภูมิทันเวลา

ร้อยละ

85

86

87

88

2.   ร้อยละของระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการต่องานบริการอุตุนิยมวิทยาการบิน

ร้อยละ

80

  81

  83

   85

3.1 ร้อยละในการแจ้งข้อมูลการตรวจพบพายุฟ้าคะนองด้วยเรดาร์ ในรัศมี 60 กม. ได้ทันตามข้อกำหนด

ร้อยละ

94

96

98

98

3.2 ร้อยละของการรายงานค่าความเข้มของสนามไฟฟ้าในบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิที่มีค่าตั้งแต่ 2000 V/m ขึ้นไป

ร้อยละ

96

  97

  98

98

4. ระดับความสำเร็จในการพัฒนาเทคโนโลยีด้านอุตุนิยมวิทยาการบิน

ระดับ

-

5

5

5

 

กลยุทธ์

1.    พัฒนา ปรับปรุง ระบบการตรวจ การพยากรณ์ การออกคำเตือน และการให้บริการด้านอุตุนิยมวิทยาการบิน ให้ได้มาตรฐาน เพื่อลดความเสี่ยงและอัตราการสูญเสียในกิจการด้านการบิน ที่เกิดจากสภาวะอากาศร้าย

2.    ปรับปรุง พัฒนา และส่งเสริมระบบเทคโนโลยีด้านอุตุนิยมวิทยาการบินให้ทันสมัย

 

แผนงาน/ โครงการ

1.    โครงการปรับปรุงและบำรุงรักษาเครื่องมือตรวจอากาศการบินบนทางวิ่งที่สามของท่าอากาศยาน  สุวรรณภูมิ

2.    โครงการจัดหาเครื่องมือตรวจวัดความเข้มของสนามไฟฟ้าในอากาศ (EFM) เพื่อใช้งานที่ท่าอากาศยานดอนเมือง

3.    โครงการปรับปรุงอาคารปฏิบัติงานกองอุตุนิยมวิทยาการบินที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมือง

 

 

 

 

4.    โครงการบำรุงรักษาและซ่อมแซมเครื่องมือตรวจอากาศอัตโนมัติและเครื่องมือตรวจอากาศการบินที่ทางวิ่งท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมือง

5.    โครงการบำรุงรักษาและซ่อมแซมระบบหาพิกัดตำแหน่งฟ้าแลบ

6.    โครงการบำรุงรักษาและซ่อมแซมเครื่องวัดลมเฉือนแนวขึ้น-ลงของเครื่องบินและเครื่องมือตรวจลมชั้นบนระดับต่างๆ (wind profiler) สำหรับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

7.    โครงการบำรุงรักษาและซ่อมแซมเครื่องเรดาร์ตรวจอากาศ พร้อมอุปกรณ์เชื่อมโยง

8.    โครงการซ่อมแซมเครื่องมือหรือจัดหาอุปกรณ์สำรองติดตั้งที่ Main meteorological office

9.    โครงการจัดหาระบบการพยากรณ์เพื่อทดแทนระบบเครื่องมือและอุปกรณ์ติดตั้งที่ Main meteorological office

10.  โครงการจัดหาระบบบูรณาการข้อมูลเพื่อการติดตามและแจ้งเตือนสภาวะอากาศร้าย

11.  โครงการวิจัย การหาค่าความเข้มของสนามไฟฟ้าในก้อนเมฆที่เหมาะสมต่อการเกิดฟ้าผ่าในประเทศไทย

 

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3  การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรด้านอุตุนิยมวิทยาการบิน  และเสริมสร้างความก้าวหน้าในวิชาชีพ 

เป้าประสงค์ 

1.       พัฒนาองค์ความรู้ด้านอุตุนิยมวิทยาการบินและพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้และทักษะด้านอุตุนิยมวิทยาการบิน

2.       บุคลากรด้านอุตุนิยมวิทยาการบินมีคุณภาพและผ่านการประเมินสมรรถนะรายบุคคลตามเกณฑ์มาตรฐาน WMO

3.       ผลักดันเพื่อให้ได้รับใบอนุญาตการประกอบวิชาชีพด้านอุตุนิยมวิทยาการบิน

4.       มีความก้าวหน้าและได้รับค่าวิชาชีพด้านอุตุนิยมวิทยาการบิน

 

ชื่อตัวชี้วัด

หน่วยนับ

2558

2559

2560

2561

1.   จำนวนกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชนนักปฏิบัติ

จำนวนครั้ง

3

3

3

3

2.   ร้อยละบุคลากรด้านอุตุนิยมวิทยาการบินของกองฯ ที่ผ่านการประเมินสมรรถนะ

ร้อยละ

-

70

75

80

3.   ร้อยละของบุคลากรที่ได้รับใบอนุญาตการประกอบวิชาชีพด้านอุตุนิยมวิทยาการบิน

ร้อยละ

-

-

-

60

4.   จำนวนบุคลากรด้านอุตุนิยมวิทยาการบินของกองฯ ที่ได้รับตำแหน่งสูงขึ้น

 

จำนวนคน

2

2

2

2

 

กลยุทธ์

1.         เพิ่มศักยภาพบุคลากรให้มีสมรรถนะตามเกณฑ์มาตรฐาน WMO

2.         พัฒนาระบบการประเมินสมรรถนะรายบุคคลให้มีมาตรฐาน WMO

3.         สร้างจิตสำนึก ค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม ของบุคลากร และเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี

4.         สร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานบุคลากร

 

 

แผนงาน/ โครงการ

1.         โครงการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้บุคลากรได้สมรรถนะตามมาตรฐานสากล

2.         จัดทำระบบการประเมินสมรรถนะรายบุคคลให้ได้ตามมาตรฐานสากล

3.         จัดทำโครงการฝึกอบรมทั้งภายในและเข้าร่วมการฝึกอบรมภายนอกประเทศ

3.1  ฝึกอบรมการตรวจและรายงาน METAR ให้สนามบินทั่วประเทศ

3.2  ฝึกอบรมการตรวจและรายงาน TREND FORECAST ให้   สนามบิน ทั่วประเทศ

3.3  ฝึกอบรมเกี่ยวกับลักษณะอากาศร้าย

3.4  ฝึกอบรมภาษาอังกฤษสำหรับการปฏิบัติงานด้านอุตุนิยมวิทยาการบิน

3.5  ศึกษาดูงานด้านอุตุนิยมวิทยาการบินกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

3.6  Aviation Seminar ด้านอุตุนิยมวิทยาการบินในต่างประเทศ โดย นอต.หรือ พอต. ใหม่ ไม่น้อยกว่า 2 คน/ปี  นอต.หรือ พอต. ระดับกลางไม่น้อยกว่า 2 คน/ปี

4.    เผยแพร่องค์ความรู้ด้านอุตุนิยมวิทยาการบินแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

5.    โครงการผลิตและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน จัดทำเอกสารตำราและคู่มือการปฏิบัติงานด้านอุตุนิยมวิทยาการบิน

6.    โครงการจัดกิจกรรมร่วมกันภายในองค์กรเพื่อเสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีในหน่วยงาน 

 

 

 

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4. ขยายขอบเขตระบบบริหารคุณภาพ ISO9001ด้านอุตุนิยมวิทยาการบินให้ครอบคลุมทั่วประเทศและสร้างมาตรฐานการปฏิบัติงานให้ครบทุกกระบวนการ

 

เป้าประสงค์

1.       หน่วยงานอุตุนิยมวิทยาการบินทุกแห่งของประเทศไทยเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือของผู้รับบริการ

2.       การบริการด้านอุตุนิยมวิทยาการบินมีความถูกต้องเพื่อให้ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกิดความพึงพอใจ

3.       ผ่านเกณฑ์ประเมินระบบบริหารคุณภาพ ISO9001 ทั่วทั้งประเทศ

4.       มีคู่มือมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านอุตุนิยมวิทยาการบิน

 

ชื่อตัวชี้วัด

หน่วยนับ

2558

2559

2560

2561

1.  จำนวนโครงการความร่วมมือระหว่างศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับด้านอุตุนิยมวิทยาการบิน

ร้อยละ

-

-

-

5

2.  ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ร้อยละ

80

81

82

83

3.  จำนวนศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคที่ผ่านเกณฑ์การประเมินของระบบบริหารคุณภาพ ISO9001

จำนวน

-

-

1

1

4.  ร้อยละของคู่มือมาตรฐานที่ได้จัดทำสำเร็จแล้วทุกกิจกรรมด้านอุตุนิยมวิทยาการบินของแต่ละศูนย์

ร้อยละ

-

50

60

70

 

กลยุทธ์

1.         ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานด้านการบิน

2.         สร้างความพึงพอใจให้ผู้รับบริการ

3.         เพิ่มสมรรถนะการบริหารการจัดการตามมาตรฐาน ISO9001

4.         สร้างมาตรฐานการปฎิบัติงานด้านอุตุนิยมวิทยาการบินของกรมฯ

 

แผนงาน/ โครงการ

1.    –แผนพัฒนาความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน

      -โครงการความร่วมมือด้านเครื่องมือ วิชาการความรู้ คน (MOU)

2.    -แผนพัฒนาระบบบริการ

-โครงการปรับปรุงช่องทางการให้บริการ

-โครงการปรับปรุงสถานีที่ให้บริการ

-โครงการปรับปรุง WEB SITE

(ควรแยกงบประมาณตามโครงการ)

3.    -โครงการให้ความรู้ ISO9001 แก่เจ้าหน้าที่ศูนย์

-โครงการปรับปรุงระบบงานตามมาตรฐาน ISO9001

-โครงการตรวจติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐาน ISO9001

4.    -โครงการปรับปรุงคู่มือให้เป็นมาตรฐาน


 

กองอุตุนิยมวิทยาการบิน ©2015 กรมอุตุนิยมวิทยา
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โทร.02-134-0011 ต่อ 210 หรือ 211 Fax.02-134-0009-10