เรียบเรียงโดย ... ทีมงานเว็บไซต์กองอุตุนิยมวิทยาการบิน

Meteorological Messages for Aviation and Dissemination ข่าวสารอุตุนิยมวิทยาเกี่ยวกับการเดินอากาศ

     ข่าวสารอุตุนิยมวิทยาการบินหมายถึง ข่าวสารที่บอกให้ทราาบถึงสภาวะทางอุตุนิยมวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการเดินอากาศ
มีหลายชนิดแตกต่างกันเช่น

-ข่าวสารการตรวจอากาศ
-ข่าวสารการพยากรณ์อากาศ
-ข่าวสารรายงานอากาศจากเครื่องบิน
-ข่าวสารเกี่ยวกับคำเตือนลักษณะอากาศเลว
รูปแบบการกระจายรายงานข่าวสารอุตุนิยมวิทยาการบิน
ข้อความที่บรรจุในข่าวสารอุตุนิยมวิทยาการบินเพื่อรายงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ รายงานได้ 2 ลักษณะคือ

1. ใช้ถ้อยคำธรรมดาที่เป็นคำย่อ (Plain langage) รายงานรูปแบบนี้โดยปกติจะใช้เฉพาะในสนามบินแห่งนั้นเท่านั้น ซึ่งเป็นพื้นฐาน
การรายงานแก่เครื่องบินที่กำลังจะบินขึ้นหรือลง คำย่อที่ใช้ในการรายงานอากาศการบินนี้จะต้องเป็นคำย่อที่องค์การ ICAO บัญญัติขึ้นเท่านั้น

2. ใช้รหัส (CODE) หมายถึงข่าวสารอุตุนิยมวิทยาการบินที่บรรจุข้อความเป็นรหัสของตัวเลขตามที่องค์การ WMO
กำหนดไว้เพื่อกระจายให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่อยู่นอกท่าอากาศยาน



การกระจายข่าวสารอุตุนิยมวิทยาการบิน

1. หน่วยแสดงผลทางจอภาพคอมพิวเตอร์
2. TV วงจรปิด
3. ทางโทรศัพท์
4. ทาง INTERNET ที่ http://www.aeromet.tmd.go.th/
5. ทาง FAX ON DEMAND

หน่วยงานที่รับข่าวสารอุตุนิยมวิทยาการบิน
1. หน่วยงานภายในท่าอากาศยาน ได้แก่ หอควบคุมสนามบิน หน่วยงานควบคุมการจราจรทางอากาศใกล้เขตสนามบิน
บุคคนอื่นหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งอยู่ภายในท่าอากาศยาน
2. หน่วยงานภายนอกท่าอากาศยาน ได้แก่หน่วยงานควบคุมจราจรทางอากาศระดับภูมิภาค ศูนย์ข่าวสารการบิน สถานีสื่อสาร


การกระจายข่าวสารอุตุนิยมวิทยาการบิน

1. หน่วยแสดงผลทางจอภาพคอมพิวเตอร์
2. TV วงจรปิด
3. ทางโทรศัพท์
4. ทาง INTERNET ที่ http://www.aeromet.tmd.go.th/
5. ทาง FAX ON DEMAND

หน่วยงานที่รับข่าวสารอุตุนิยมวิทยาการบิน
1. หน่วยงานภายในท่าอากาศยาน ได้แก่ หอควบคุมสนามบิน หน่วยงานควบคุมการจราจรทางอากาศใกล้เขตสนามบิน
บุคคนอื่นหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งอยู่ภายในท่าอากาศยาน
2. หน่วยงานภายนอกท่าอากาศยาน ได้แก่หน่วยงานควบคุมจราจรทางอากาศระดับภูมิภาค ศูนย์ข่าวสารการบิน สถานีสื่อสาร


ข่าวสารเกี่ยวกับการรายงานอากาศ

1. รายงานอากาศสนามบินประจำ (Routine Meteorological Report) หรือ METAR
METAR คือการรายงานอากาศประจำที่ต้องตรวจวัดและรายงานตลอด 24 ชั่วโมง ทุก 30 นาทีที่สนามบินดอนเมือง
และทุกชั่วโมงตามสนามบินภูมิภาคของประเทศไทย เมื่อทำการตรวจวัดแล้วจะต้องเข้ารหัสเพื่อกระจายข่าวต่อไป
Example: METAR 150600Z 09020G35KT 0500M R21/0600 +TSRA FEW010 SCT018CB BKN110
OVC300 23/23 Q1005 TS OVER AD MOV NE=

2. รายงานอากาศพิเศษ (SPECI)
จะทำการตรวจและรายงานเมื่อองค์ประกอบเปลี่ยนแปลงไปจากรายงานอากาศประจำที่ได้รายงานไปแล้ว และจะเป็นอันตราย
ต่อการบิน ซึ่งได้กำหนดบรรทัดฐานไว้แล้วเช่น เมื่อเริ่มเกิดหรือสิ้นสุด หรือเปลี่ยนแปลงความรุนแรงของพายุฟ้าคะนองหรือหมอก
จะรายงานเช่นเดียวกันกับข่าว METAR แต่ไม่ใช่เวลาหลัก

3. รายงานข่าว SIGMET
จะทำการออกข่าวเตือนล่วงหน้าเมื่อคาดหมายว่าเกิดพายุฝนฟ้าคะนองหรือหมอกที่จะเป็นอันตรายระหว่างเส้นทางบินและ
สนามบินปลายทางที่เครื่องจะมาลงในบริเวณที่รับผิดชอบในพื้นที่ และเครื่องบินที่บินเข้าในเขตราชอาณาจักรไทย

4. รายงานข่าวด้วยเรดาร์ติดตามสภาวะอากาศ
จะทำการตรวจสภาพอากาศและรายงานการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มฝนทุกๆ 30 นาที นาทีที่15และนาทีที่ 40
รัศมีการตรวจ 120 กม. และตรวจรัศมี 300 กม.นาทีที่ 45 ชั่วโมงละหนึ่งครั้ง และจะส่งภาพทาง LINE โทรศัพท์
ไปที่หอบังคับการบินที่ห้อง MET ที่ชั้น3 และห้อง METจะส่งไปที่ชั้น4ห้องเรดาร์วิทยุการบิน และหน่วยงานสำนักพยากรณ์อากาศ
ศูนย์ข่าว และจะส่งภาพทาง FAX ให้อีก 16หน่วยงาน รวมทั้งตอบคำถามสายตรงทางโทรศัพท์แก่ประชาชนทั่วไป แต่ทั้งนี้จะเน้น
ให้ความสำคัญกับเครื่องบินเป็นอันดับแรกสุดเพื่อความปลอดภัยของอากาศยานที่ขึ้น ลงและกำลังเดินทางเข้าอาณาู่เขต
ภายในรัศมีทำการของเรดาร์


รายงานอากาศจากเครื่องบิน AIRCRAFT REPORT

1. ตรวจประจำ Routine Aircraft Observation
2. ตรวจพิเศษ Special Aircraft Observation
3. ตรวจอากาศในขณะกำลังไต่ระดับหรือลดระดับลงสู่สนามบิน Observation during climb out and approach
4. ตรวจตามคำร้องขอ Request

1. Routine Aircraft Observation การตรวจประจำ จะทำการตรวจวัดที่จุดรายงานตามที่หน่วยงานจราจรทางอากาศ
กำหนดไว้ หรือรายงานตามช่วงเวลาที่ขาดไป เช่นจุดรายงานที่อยู่ห่างกันทุกชั่วโมงบิน ซึ่งในทุกภูมิภาคองค์การ ICAO
ได้กำหนดจุดรายงานไว้แน่นอน การตรวจอากาศใช้ในกิจการบิน มีเครื่องมือและวิธีการตรวจที่แตกต่างกันกับตรวจอากาศผิวพื้น
เครื่องมือที่ใช้จะต้องให้เหมาะสมและสอดคล้องกับด้านการบิน เช่น เครื่องมือตรวจวัดอุณหภูมิ ความชื้น ทิศทางและความเร็วลม
จะต้องติดตั้งใกล้ทางวิ่งแต่สามารถอ่านค่าได้จากเครื่องวัดในที่ทำการ สำหรับเครื่องตรวจวัดทัศนวิสัยและเครื่องวัดความสูง
ของฐานเมฆ จะต้องเป็นเครื่องมือวัดทางอิเลคโทรนิคคือระบบ windshear *เครื่องบินที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องตรวจอากาศประจำ
1.1 ที่มีช่วงการบินไม่เกิน 2 ชั่วโมง
1.2 เครื่องบินที่อยู่ห่างจากสนามบินที่ตั้งใจจะร่อนลงน้อยกว่า 1 ชั่วโมงบิน
1.3 เครื่องบินที่บินตำ่ำกว่าระดับ 5,000 ฟุต จากระดับน้ำทะเล

2. การตรวจพิเศษ Special Aircraft Observation รายงานพิเศษนี้ต้องการให้เครื่องบินที่บินอยู่ในเส้นทางบินทำการตรวจวัด
ให้เมื่อประสพกับเหตุการณ์ต่อไปนี้
2.1 ประสพกับความปั่นป่วนรุนแรงหรือน้ำแข็งจับเกาะเครื่องบินที่รุนแรง
2.2 ประสพกับความปั่นป่วนปานกลาง หรือ Moderate terbulence ประสพกับลูกเห็บหรือเมฆ CB ในระหว่างที่บินด้วยความเร็ว
เ่ท่ากับความเร็วของเสียงหรือมากกว่าเสียง
2.3 ประสพกับสภาพทางอุตุนิยมวิืทยาอื่นๆที่นักบินมีความเห็นว่าจะมีผลต่อความปลอดภัยหรือมีผลต่อประสิทธิภาพ
ในการทำการบินของเครื่องบินอื่นๆ อย่างเด่นชัด

3. Observation during climb out and approach ตรวจอากาศในขณะกำลังไต่ระดับหรือลดระดับลงสู่สนามบิน
เมื่อเครื่องบินลดระดับ ทำการตรวจเมื่อสภาพอากาศุที่พบระหว่างการไต่ระดับและการลดระดับไม่ได้รายงานให้นักบินมาก่อน
และนักบินเห็นว่าน่าจะมีผลต่อความปลอดภัยของเครื่องบินอื่นๆที่ี่จะตามมา สภาพอากาศที่สำคัญเช่น การเกิด windshear
ในระดับต่ำ ความปั่นป่วน และ Icing เพราะในปัจจุบัน ไม่มีวิธีีการตรวจวัดอันตรายเหล่านี้จากพื้นดินได้ ดังนั้นเมื่อนักบินพบ
กับสภาพเหล่านี้เมื่อไต่หรือลดระดับต้องแจ้งให้หน่วยงานจราจรทางอากาศทราบทันที เพื่อที่จะให้หน่วยงานนี้แจ้งหน่วยงาน
อุตุนิยมวิทยาเพื่อออกคำเตือนต่อไป

4. การตรวจ Requested Observation ตรวจตามคำร้องขอ หน่วยงานอุตุนิยมวิทยาที่ีบริการด้านการบิน อาจร้องขอให้เที่ยวบินใดเที่ยวบินหนึ่งตรวจวัดและรายงานข้อมูลอุตุนิยมวิทยา การบันทึกการตรวจอากาศของเครื่องบิน
ก่อนทำการบินในแต่ละเที่ยวบิน นักบินจะได้รับแบบฟอรม์ AIREP คือ Air Report ได้รับจากบริษัทการบินหรืองานอุตุนิยมวิทยา

ประจำสนามบินนั้นรายงานอากาศจากเครื่องบินแต่ละฉบับประกอบด้วย

-การรายงานตำแหน่ง
-เวลาที่บินไปถึงจุดนั้น
-ระดับบิน
-ตำแหน่งถัดไปและเวลาที่คาดว่าจะถึงตำแหน่งนั้น
-ปริมาณเชื้อเพลิงที่เหลืออยู่ว่าจะใช้ได้อีกนานเท่าใด
-อุณหภูมิของอากาศ
-ทิศทางและความเร็วลม
-ความปั่นป่วน Turbulence
-Icing

ข่าวสารเกี่ยวกับพยากรณ์อากาศการบิน

1. พยากรณ์อากาศสนามบิน Terminal Aerodrome Forecast /TAFOR/ROFOR
2. การพยากรณ์อากาศเพื่อการร่อนลง Landing Forecast
3. การพยากรณ์อากาศเพื่อการนำเครื่องบินขึ้น Take-off Forecast

1.1การพยากรณ์อากาศสนามบิน

-ช่วงเวลา 9 ชั่วโมง ทำการออกคำพยากรณ์ทุก 3ชั่วโมง
เช่นช่วงเวลา 0009/0312/0615/0918/1221/1524/1803/2106/0009 UTC

-ช่างเวลา18-24ชั่วโมง จะทำการพยากรณ์ทุก 6 ชั่วโมง
18 ชั่วโมง 0018/0024/1216/1812 UTC
24 ชั่วโมง 0024/0606/1212/1818 UTC

     ในการรายงาน คำพยากรณ์นี้ใช้รหัสเื่พื่อแลกเปลี่ยนโดยใช้สัญลักษณ์หรือตัวอักษรให้เป็นไปตามที่องค์การ WMO กำหนดไว้
โดยรายละเอียดอย่างน้อยที่สุดต้องประกอบด้วยลม ทัศนวิสัย ลักษณะอากาศ เมฆ Gradu=Gradually-การเปลี่ยนแปลงแบบค่อยๆ
เปลี่ยนใช้เวลามากกว่า 30 นาที

Tempo=Temporary- เมื่อคาดว่าจะเกิดเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งขึ้นระหว่างช่วงการพยากรณ์และจะปรากฎเหตุการนี้
อยู่ไม่เกิน 1 ชั่วโมงและคาดว่าจะเกิดขึ้นอีก

Inter=Intermittent-ใช้แทน Tempo เมื่อคาดว่าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นถี่ครั้งกว่าTempo

INTST NC= INTENSITY NO CHANGE

WKN= WEAKENING จะมีกำลังลดลง


ข่าวสารการพยากรณ์อากาศเพื่อการร่อนลง Landing Forecast หรือ Trend Type Forecast

     การพยากร์ือากาศในลักษณะนี้จะผนวกประโยคสั้นๆที่ได้ใจความเข้าไปกับรายงานอากาศ METARประจำ
หรือรายงานอากาศพิเศษ SPECI โดยบอกถึงการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญแสดงถึงแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นในสารประกอบอุตุนิยมวิทยา
ตัวใดตัวหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งภายในระยะ 2 ชั่วโมงนับจากเวลารายงาน โดยจะเริ่มต้นประโยคของการพยากรณ์ในลัษณะนี้
ด้วยคำนำที่บอกถึงลัษณะการเปลี่ยนแปลงได้แก่

1. GRADU เมื่อคาดว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นจะเกิดขึ้นในอัตราคงที่ตลอดช่วงการพยากรณ์
2. RAPID เมื่อคาดว่าการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นช่วงใดช่วงหนึ่งใน 2 ชั่วโมงนี้และสิ้นสุดภายในครึ่งชั่วโมงมี METAR
แล้วต่อท้าย RAPID3. INTER ถ้าคาดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นบ่อยๆในช่วงสั้นสภาพการขึ้นลงนี้เกือบคงที่
ตลอดเวลา 2 ชั่วโมง ข้างหน้าที่มี METAR แล้วต่อท้าย INTER
4. TEMPO ถ้าคาดจะมีการเกิดขึ้นภายใน 2 ชั่วโมงข้างหน้านี้และสิ้นสุดภายใน 1 ชั่วโมง
5. ถ้าคาดว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆภายใน 2 ชั่วโมงข้างหน้าให้ใช้ NOSIG ต่อท้ายรายงานข่าวแทน

การรายงานอากาศเพื่อการนำเครื่องบินขึ้น Forecast for take-off
     การรายงานอากาศเครื่องบินขึ้นประกอบด้วยการคาดหมายเกี่ยวกับทางวิ่ง สารประกอบอุตุนิยมวิทยาที่สำคัญสำหรับ
การนำเครื่องบิน ขึ้นที่ต้องออกคำพยากรณ์
1. ทิศทางและความเร็วลมผิวพื้น
2. อุณหภูมิของอากาศ
3. ความกดอากาศ
ทั้งสามอย่างนี้จะต้องเป็นที่สนามบินและจะออกให้ภายใน 3 ชั่วโมงก่อนทำการบิน

AERODROME WARNING

     ข่าวสารคำเตือนสนามบิน วัตถุประสงค์ของคำเตือนสนามบินคือการให้ข่าวสารโดยใช้ภาษาธรรมดาที่เป็นคำย่อเกี่ยว
กับสภาพทางอุตุฯ ซึ่งจะมีผลในทางลบต่อเครื่องบินบนพื้นดิน รวมทั้งเครื่องบินที่จอดอยู่กับที่และเครื่องบินที่ทำการบิน
มายังสนามบินนี้ คำเตือนสนามบินจะออกให้เมื่อคาดว่าจะเกิดปรากฎการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
1. Tropical Revaling Storm
2. Thunderstorm
3. Hail
4. Snow
5. Freezing Precipitation
6. Frost
7. Sandstorm
8. Dust storm
9. Strong Surface Wind and Gust

FLIGHT DOCUMENTATION เอกสารประกอบการบิน
1. แผนที่แสดงลักษณะอากาศเลว Significant Weather Chart คือแผนที่แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะอากาศที่อาจเป็น
อันตรายต่อเครื่องบิน มีรายละเอียดในแผนที่ดังนี้
1.1 ตำแหน่งของแนวปะทะอากาศและแนวการคาดหมายการเคลื่อนที่
1.2 ศูนย์กลางความกดอากาศและการคาดหมายการเคลื่อนที่
1.3 บริเวณลักษณะอากาศเลวเช่นพายุฟ้าคะนอง พายุหมุน ความปั่นป่วนขนาดปานกลางและรุนแรงทั้งนี้เกิดขึ้น
ภายในเมฆและในท้องฟ้าแจ่มใส และบริเวณทีมีภาวะน้ำแข็งจับเกาะเครื่องบินขนาดปานกลางและรุนแรง จำนวนเมฆพร้อม
ทั้งความสูงของยอดและฐานเมฆ การจัดทำแผนที่อากาศชนิดต่างๆ เพื่อใช้ในการพยากรณ์อากาศ ในการพยากรณ์
อากาศเพื่อการบิน นักพยากรณ์อากาศจะต้องทำการวิเคราะห์ลักษณะอากาศทั่วไปจากแผนที่อากาศ
แผนที่อากาศที่ใช้ในการวิเคราะห์แบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท คือแผนที่ผิวพื้นและแผนที่ลมชั้นบน
แผนที่ผิวพื้นทำการเขียนและวิเคราะห์วันละ 4 เวลาคือ 07.00น. 13.00น. 19.00น. 01.00น. แผนที่นี้ใช้ในการวิเคราะห์
หาการเคลื่อนไหวถ่ายเทของมวลอากาศชนิดต่างๆ และสภาพลักษณะของลมฟ้าอากาศที่เป็นอยู่ในขณะนั้น
เพื่อเป็นแนวทางพิจารณาถึงความโน้มเอียงที่จะเกิดขึ้นในระยะเวลาต่อไป

แผนที่ลมชั้นบนทำการเขียนและวิเคราะห์วันละ 4 เวลาเช่นเดียวกัน ความสูงระดับ 850 mb ประมาณ 5,000 ฟุต
ระดับ700 mb ประมาณ10,000 ฟุต ระดับ 500 mb ประมาณ18,000 ฟุต ระดับ300 mb ประมาณ 34,000ฟุต
ระดับ 200 mb ประมาณ 39,000ฟุต จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งเครื่องบินจะบินระดับ 500 mb ขึ้นไป
ซึ่งในปัจจุบันเราใช้ระบบ SADIS นำข้อมูลมาจากต่างประเทศเพื่อใช้ประกอบเอกสารการบินรวมทั้งภาพถ่ายดาวเทียมด้วย
UPPER WIND AND UPPER AIR TEMP แผนที่นี้จะแสดงการคาดหมายทิศทางและความเร็วลมระดับต่างๆ ตั้งแต่ระดับ FL050/FL100/ FL180 /FL300 / FL390 /FL420


กองอุตุนิยมวิทยาการบิน ©2015 กรมอุตุนิยมวิทยา
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โทร.02-134-0011 ต่อ 210 หรือ 211 Fax.02-134-0009-10